ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร มีหน้าที่ดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วและน้ำจากอาหารที่กินเข้าไป
และยังเป็นที่เก็บกากอาหารก่อนที่จะขับ ถ่ายออกจากร่างกายทางทวารหนัก ลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีลักษณะเป็นท่อยาวมีผนังประกอบด้วยกล้ามเนื้อ
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 6 ฟุต
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่แบ่งตัวต่อเนื่องโดยไม่ สามารถควบคุมได้ จนกลายเป็นก้อนขนาดใหญ่เรียกว่า "เนื้องอกมะเร็ง" เมื่อมะเร็งแพร่เข้า
สู่กระแสเลือดหรือทางเดินน้ำเหลืองและไปปรากฏยังส่วน อื่นๆ ของร่างกายเรียกว่า "มะเร็งแพร่กระจาย"
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นเซลล์มะเร็งของเนื้อเยื่อลำไส้และลำไส้ตรง ซึ่งชนิดที่พบบ่อยเกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงและ เจริญเติบโตผิดปกติกลาย
เป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า โพลิพ (Polyp) จากนั้นติ่งเนื้อจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ซึ่งการผ่าตัดติ่งเนื้องอก (Polyp) ออก สามารถป้องกันไม่ให้ติ่ง
เนื้อพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจลุกลามทะลุผนังลำไส้หรือแพร่กระจาย ต่อไปยังตับ ปอด สมอง หรือกระดูกได้
เกร็ดความรู้ "มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก"
- การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลำไส้ใหญ่ช่วงต้นหรือช่วงปลายล้วนเรียกว่า "มะเร็งลำไส้ใหญ่" (Colorectal Cancer)
- มะเร็ง ลำไส้ใหญ่พบมากเป็นอันดับ 2 ของสาำเำหตุการเสียชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลก และเป็นอันดับ 3 ของสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งในประเทศไทย
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทย พบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป และพบมากขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น โดยพบมากสุดในอายุ 50-70 ปี
- ภายในครอบครัวที่มีประวัติผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ จะมีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ได้กับบุคคลอื่นในครอบครัวด้วย
- ผู้ที่มีปัญหาการอักเสบของทางเดินอาหารส่วนลำไส้เรื้อรัง มีแนวโน้มสูงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
- การบริโภคอาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกาย ล้วนมีผลต่ออัตราการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
- ถ้า มะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เยื่อบุผนังลำไส้ โอกาสรอดชีวิตที่ 5 ปี จะสูงถึง 90% หากมะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ 68% แต่ถ้ามะเร็งกระจายสู่อวัยวะที่ห่างไกลออกไปจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี เพียง 10%
ดังนั้นการตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักยังไม่ทราบ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- อายุ ผู้ที่มีอายุมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมากกว่าคนอายุน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 50 ปี อย่่างไรก็ตามมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักสามารถพบได้ในคนอายุน้อย บางครั้งพบได้ในวัยรุ่นแต่ก็พบได้น้อย
- อาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ดูเหมือนว่าจะมีความสัมพันธ์กับอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันและให้พลังงานสูงแต่มีกากใยน้อย นักวิจัยกำลังวิจัยว่า ทำไมอาหารเหล่านี้ถึงมีบทบาทที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- ก้อนเนื้องอก (Polyps) ปกติจะเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาที่เกิดขึ้นภายในผนังลำไส้ใหญ่และทวารหนัก บางครั้งจะถือว่าเป็นธรรมดาสำหรับคนอายุมากกว่า 50 ปี แต่ก้อนเนื้องอกบางชนิดจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวาร หนักสูง มีบางครั้งจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่พบบ่อยคือ การเป็นเนื้องอกในลำไส้ใหญ่และทวารหนักกันทั้งตระกูล (Familial Polyposis) มีจำนวนเนื้องอกจำนวนมากเกิดขึ้นในผนังของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ซึ่งเกือบทั้งหมดของเนื้องอกชนิดนี้จะกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ต่อไป
- ผู้ที่มีประวัติเจ็บป่วยได้รับการรักษาพยาบาล จากการวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีประวัิติของโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักสูง ถึงแม้คนไข้คนนี้จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไปแล้ว และได้รับการรักษาเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็จะสามารถกลับมาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักใหม่ได้อีก (การเป็นมะเร็งในผู้หญิงมีสาเหตุมาฮอร์โมนหรือการติดเชื้อเรื้อรัง)
- ประวัติการรักษาทางการแพทย์ของครอบครัว โดย เฉพาะอย่างยิ่ง พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ของบุคคลที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อาจจะเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักขึ้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เป็นโรคมะเร็งนั้นมีอายุน้อย เพราะฉะนั้นครอบครัวใดก็ตามที่มีสมาชิกเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มีโอกาสเสี่ยงสูงสำหรับสมาชิกในครอบครัวที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวาร หนัก
- การอักเสบของลำไส้ใหญ่ (Ulcerative Colitis) การอักเสบของลำไส้ใหญ่ชนิดนี้ผนังด้านในของลำไส้ใหญ่จะอักเสบไปตลอดแนวลำไส้ ใหญ่ทั้งหมด ถ้าเกิดในบุคคลใดโอกาสที่จะเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักก็จะสูง (การอักเสบนั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด)
- การสูบบุหรี่และสารเสพติด
การลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- การ ค้นหาคัดกรองเพื่อให้พบเนื้องอกตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยลดและป้องกันการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง)
- การงดสูบบุหรี่ และลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การรับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ได้แก่ ผักและผลไม้เป็นประจำ
- การรับประทานยาและอาหารเสริมบางชนิด เช่น แอสไพริน กรดโฟลิด หรือ วิตามินซี
- การควบคุมน้ำหนักตัวให้ได้ตามมาตรฐาน ไม่ควรให้น้ำหนักตัวมากเกินไป (BMI < 25kg/m2) หรือรอบเอวน้อยกว่า 102 ซม. ในผู้ชาย และน้อยกว่า 88 ซม. ในผู้หญิง โดยค่า BMI คำนวณได้จาก
BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง2 (เมตร)
เช่น ผู้ชายน้ำหนัก 70 กิโลกรัม สูง 175 เซนติเมตร
จะได้ BMI = 70 / 1.752 = 22.85
อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
อาการที่จะบอกต่อไปนี้ เป็นกลุ่มอาการที่บ่งบอกว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และ่ทวารหนัก
- พฤติกรรม ในการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากการที่ปกติมีการถ่ายอุจจาระทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า/เย็น อาจจะเป็น 2-3 วัน ถึงจะถ่ายอุจจาระสักครั้ง
- มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก หรือมีความรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่สุด
- มีเลือดสดๆ หรือเลือดดำปนออกมากับอุจจาระ
- อุจจาระมีลักษณะผิดปกติจากเดิมเป็นก้อนเปลี่ยนเป็นเส้นแบนคล้ายตังเม
- มีท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด มีลมในลำไส้มาก (Abdominal Discomfort)
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เหนื่อย อ่อนเพลียไม่มีแรงตลอดเวลา
- คลื่นไส้อาเจียน
อาการทั้งหลายเหล่านี้อาจจะเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรืออาจจะเป็นโรคอื่นๆ ก็ได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์ เืพื่อตรวจ
ร่างกายหาสาเหตุของอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อไป
การค้นหาคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ประชาชนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ควรจะมาพบแพทย์ เพื่อจะดำเนินการค้นหาคัดกรองตั้งแต่เริ่มแรก เวลาใดที่เหมาะสมในการ
ที่จะค้นหาคัดกรอง การตรวจวิธีไหนบ้างจะช่วยในการค้นหาคัดกรองและตรวจวินิจฉัย และจะต้องมีการติดตามในการตรวจคัดกรองเหล่านี้บ่อยมากแค่ไหน แพทย์ก็จะเป็นผู้
แนะนำ และมีรายการตรวจต่างๆ หลายอย่่าง เพื่อใช้ค้นหาคัดกรองเนื้องอกมะเร็งหรือความผิดปกติต่างๆ ในลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ถึงแม้ว่าบุคคลคนนั้นยังไม่มีอาการผิด
ปกติใดๆ แพทย์และทีมผู้ดูแลสุขภาพจะเป็นผู้อธิบายถึงการตรวจต่างๆ
1. การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Stool Occult Blood)
การตรวจนี้ก็เพื่อค้นหาว่ามีเลือดออกมาปะปนกับอุจจาระหรือไม่ บางครั้งโรคมะเร็งหรือเนื้องอกจะมีเลือดออกมาปนกับอุจจาระ
การตรวจเลือดในอุจจาระใช้ในการค้นหาคัดกรองเลือดจำนวนน้อยๆ ที่ปนออกมากับอุจจาระ
2. Digital Rectal Exam เป็นการตรวจร่างกายโดยแพทย์
วิธีการก็คือ แพทย์สวมถุงมือแล้วใช้นิ้วป้ายสารหล่อลื่น แล้วใส่นิ้วสอดเข้าไปทางทวารหนัก
เพื่อตรวจหาความผิดปกติในทวารหนัก ถ้าพบสิ่งผิดปกติก็จะสามารถบอกได้
3. การส่องกล้องเข้าทางทวารหนักโดยใช้กล้องชนิดพิเศษ (Colonoscopy)
เป็นการส่องกล้องเข้าไปตรวจลำไส้ใหญ่โดยตรงที่ปลายท่อจะมีกล้องวีดีโอติด อยู่ เพื่อให้เห็นภาพภายในลำไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
วิธีนี้สามารถเก็บชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ เป็นวิธีการตรวจที่ีมีความแม่นยำมากที่สุด
4. การสวนสารทึบแสงและลมเข้าไปทางทวารหนัก (Double Contrast Barium Enerma)
เป็นกระบวนการตรวจทางรังสีวินิจฉัย โดยคนไข้จะได้รับการสวนสารที่มีส่วนประกอบของแบเรียม (Barium) เข้าไปทางทวารหนัก สารเหล่านี้เป็นสารทึบแสง เมื่อ
ถ่ายภาพเอกซเรย์จะเห็นภาพชัดเจน สารเหล่านี้เมื่อสวนเข้าำไปจะเข้าไปเคลือบผน้งด้านในของลำไส้ใหญ่และทวาร หนัก สามารถหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
เมื่อถ่ายภาพเอกซเรย์ออกมา
5. การส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนัก (Sigmoidoscopy)
การใส่กล้องเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ตรง (Rectum) และลำไส้ใหญ่ส่วนกลาง (Sigmoid Colon) กล้องที่ใช้เรียกว่า Sigmoidscopy
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และวิธีการรักษา
ระยะศูนย์ (Stage 0)
ลักษณะของโรค: ก้อนมะเร็งเพิ่งจะเริ่มต้น เนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งพบในชั้นเยื่อบุภายในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก
การรักษา: ตัดก้อนเนื้อออกไป จะไม่มีการผ่าตัดอื่นเพิ่มเติม ยกเว้นกรณีที่ไม่สามารถตัดติ่งเนื้อออกไปได้หมด
ระยะหนึ่ง (Stage 1)
ลักษณะของโรค: ก้อนมะเร็งเติบโตขึ้นมากกว่าระยะศูนย์ และฝังในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยไม่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงหรือต่อมน้ำเหลือง
การรักษา: ผ่าตัดก้อนมะเร็ง และต่อมน้ำเหลืองออกไป
ระยะสอง (Stage 2)
ลักษณะของโรค: ก้อนมะเร็งกระจายออกมาสู่ผนังลำไส้ใหญ่และทวารหนักส่วนนอก หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
การรักษา: ผ่าตัดก้อนมะเร็งออก และบางรายอาจต้องให้เคมีบำบัดร่วมด้วย
ระยะสาม (Stage 3)
ลักษณะของโรค: มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
การรักษา: ผ่าตัดก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออก ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
ระยะสี่ (Stage 4)
ลักษณะของโรค: มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักส่วนใหญ่มักกระจายไปสู่ตับและปอด
การรักษา: อาจจะผ่าตัดเพื่อกำจัดก้อนมะเร็งออก หรือไม่ก็ใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกในอวัยวะที่มะเร็ง แพร่กระจายไปถึง ถ้าทำได้
การผ่าตัด (Surgery)
จุดมุ่งหมายหลักก็เพื่อเอาก้อนมะเร็งออกจากร่างกายผู้ป่วย โดยทั่วไปศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาลำไส้ที่เป็นมะเร็งออกพร้อมต่อมน้ำ เหลืองที่อยู่ใกล้เคียง
หลังจากนั้นแพทย์จะทำการต่อลำไส้ส่วนที่เหลือเข้าด้วยกันใหม่ ถ้าไม่สามารถต่อลำไส้ส่วนที่เหลือเข้าด้วย อาจจะเปิดลำไส้ใหญ่ออกทางผนังหน้าท้อง เพื่อขับถ่ายอุจจาระเป็น
การชั่วคราว หรือแบบถาวร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วยและก้อนมะเร็งมีการลุกลามไปมากน้อยแค่ไหน การเปิดลำไส้ใหญ่ออกทางผนังท้องเป็นการเปลี่ยนทิศทางของกาก
อาหารที่จะถูกขับ ถ่ายออกจากร่างกาย การเปิดลำไส้ใหญ่ออกทางหน้าท้องนี้ เรียกว่า ทวารเทียน (Colostomy)
การฉายแสง (Radiation Therapy)
เป็นการใช้เอกซเรย์พลังงานสูงในการกำจัดเซลล์มะเร็ง ปกติจะใช้การฉายแสงในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ตรง โดยอาจให้ก่อนการผ่าตัด (เรียกว่า การรักษาเสริมก่อนการ
ผ่าตัด) เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้น หรืออาจให้หลังจากผ่าตัด เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังคงเหลืออยู่ (เรียกว่า การรักษาเสริมหลังผ่าตัด) เพื่อลดอัตรา
การกลับเป็นซ้ำ นิยมให้เคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง เพราะยาจะเพิ่มประสิทธิภาพของการฉายแสงทำให้การรักษาดีขึ้น
ปัจจุบันพบว่าการฉายแสงร่วมกับเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ตรงสามารถลดการ เกิดโรคขึ้นมาใหม่ และเลี่ยงการผ่าตัดชนิดลำไส้ใหญ่มาเปิดไว้ที่หน้าท้องได้
เคมีบำบัด (Chemotherapy)
ในผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่มาก หรือมีมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับเคมีบำบัดหลังการผ่าตัด เรียกว่า การรักษาเสริม
หลังการผ่าตัด เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ กรณีที่เป็นการรักษาเพื่อลดโอกาสของการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ รวมถึงช่วยเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วย
เรียกการรักษาแบบนี้ว่า การรักษาแบบหวังผลหาย
นอกจากนี้ยาเคมีบำบัดยังใช้ในการรักษาหลักในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่ กระจาย หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ ในกรณีที่มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แพร่
กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โอกาสการรักษาให้หายขาดมีน้อยมาก การใช้เคมีบำบัดจึงมักนิยมใช้เพื่อหยุดการกระจายตัวของมะเร็งไม่ให้ลุกลาม ต่อ รวมทั้งบรรเทา
อาการหรือความทรมานจากมะเร็ง เพื่อให้คุณภาพในการดำเนินชีวิตดีที่สุด และเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยได้นานขึ้น เรียกการรักษาแบบนี้ว่า การรักษาแบบประคับ
ประคอง
การบริหารยาเคมีบำบัดมี 2 วิธี
1. ชนิดฉีกเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous Chemotherapy)
การให้ยาเคมีบำบัดแบบฉีด เป็นวิธีดั้งเดิมในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการให้ยาที่โรงพยาบาล
2. ชนิดรับประทาน (Oral Chemotherapy)
เป็นรูปแบบยาเคมีบำบัดที่พัฒนาขึ้นมาช่วยเพื่อความสะอาดต่อการรักษาให้กับ ผู้ป่วย ผู้ดูแล และครอบครัว สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติเพราะในบางครั้งการให้ยาเคมีบำบัด
แบบฉีดอาจส่งผล ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยต่อผู้ป่วย และเสียเวลาในการให้ยาโดยที่ผู้ดูแลและครอบครัวต้องคอยดูแลที่โรงพยาบาล
การใช้ยาเพื่อรักษาเฉพาะเป้าหมาย
เป็นการรักษาใหม่เพื่อยับยั้งมะเร็งโดยตรงเป้าหมาย เช่น ยายับยั้งขบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ (Anti-Angiogenesis Therapy) ในมะเร็ง เป็นต้น
เมื่อมะเร็งยังมีขนาด 1-2 มิลลิเมตร ตัวมันเองยังไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นเลือด แต่อาศัยการดูดซึมสารอาหารจากอวัยวะรอบๆ แต่เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น อาหารไม่
เพียงพอ มะเร็งจะสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติ กระตุ้นการสร้างเส้นเลือดใหม่ (Angiogenesis) และปลดปล่อยโปรตีนเหล่านี้ไปยังเส้นเลือดใกล้เคียง ผลที่ตามมาเกิด
การสร้างเส้นเลือดใหม่ไปเลี้ยงมะเร็งทำให้มะเร็งมีขนาดใหญ่ ขึ้นอย่างรวดเร็ว ยายับยั้งขบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ (Anti-angiogenesis Therapy) จะไปยับยั้งขบวนการสร้าง
เส้นเลือดใหม่ ซึ่งทำให้มีการส่งออกซิเจนและสารอาหารมาเลี้ยงเซลล์มะเร็งได้ลดลง ทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดลดลงได้ การใช้ยากลุ่มนี้มักให้ร่วมการให้เคมีบำบัดเพื่อให้ได้
ประสิทธิภาพในการ รักษามากขึ้น
การติดตามผลการรักษา
ผู้ป่วยหลังการรักษาจะได้รับการติดตามโดยแพทย์ผู้รักษา เพื่อดูแลสุขภาพต่อไป การตรวจติดตามผลจะถี่หรือบ่อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโรคและสภาพร่างกายของผู้
ป่วย แต่ช่วงเวลาใน 2 ปีแรกหลังการรักษา ควรพบแพทย์ทุก 3 เดือนหรือตามคำแนะนำของแพทย์ การติดตามผลโดยปกติจะใช้การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด เพื่อหาสาร
ติดตามผลมะเร็งและอื่นๆ เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และการตรวจวินิจฉัยทางรังสี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาระยะเวลาตามความเหมาะสม
การใช้สารสกัดทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ทั้งแผนปัจจุบัน หรือแผนโบราณ
จะช่วยส่งเสริมให้ระบบภูมิต้านทานมะเร็งของร่างกายมีประสิทธิภาพดียิ่่งขึ้น เห็นผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว ผลข้างเคียงของการรักษาเคมีบำบัด หรือฉายรังสี ลดลงอย่างชัดเจน
ส่งเสริมให้ร่างกายสามารถทำลายเซลมะเร็งได้ดีขึ้น ต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมอื่นได้ดี และที่สำคัญคือ ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้ดีอย่างยิ่ง ทั้งยังส่งผลในการป้องกันการแพร่
กระจายของมะเร็งไปสู่ตำแหน่งอื่น ป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำของมะเร็งชนิดเดิม หรือมะเร็งชนิดใหม่ได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยทางการแพทย์ที่รับรองอย่างมากมายทั่วโลก
สอบถาม รายละเอียด เกี่ยวกับ Transfer Factor ในการเสริมภูมิคุ้มกัน และเสริมสุขภาพ
ผู้ที่มี ปัญหาเกี่ยวกับ มะเร็ง ลำไส้และมะเร็งทวารหนัก ได้ที่
Tel.086-4624228
คลิ๊ก