Support
4lagroup
ติดต่อ T.086-4624228
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี

วันที่: 2018-10-03 14:07:05.0

มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี

 

 

 


          มะเร็งตับและท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ของชายไทย และเป็นอันดับ 3 ในเพศหญิง 

 

สำหรับคนที่เป็นมะเร็งตับระยะแรกๆ มักจะไม่ปรากฏอาการใดๆ จนกว่าโรคจะดำเนินไปสู้ระยะท้ายๆ โดย

 

อาจใช้ระยะเวลาเป็นเดือนจนถึงหลายปี ขึ้นอยู่กับอัตราการโตของก้อนมะเร็ง บางรายกว่าจะรู้ตัวก็ทำให้เสีย

 

โอกาสในการรักษาให้หายขาดไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจมะเร็งตับจึงมีความจำเป็น

 

 ทั้งในแง่การป้องกัน ไปจนถึงการปฏิบัติตัวอย่างถูกวิธีระหว่างการรักษาในกรณีที่ป่วยเป็นมะเร็ง ตับแล้ว


การรับมือเมื่อเป็นมะเร็งตับ


          เมื่อแพทย์แจ้งว่าคุณ (คนที่คุณรัก) ป่วยเป็นมะเร็งตับ คุณอาจมีความรู้สึกหลากหลาย ตั้งแต่กลัว 

 

สับสน ไม่ยอมรับ ซึมเศร้า สิ่งที่คุณควรทำคือ ตั้งสติให้มั่น ยอมรับความจริง และ เตรียมตัวเตรียมใจ เพื่อ

 

รับมือกับมะเร็งตับ ไม่ว่าในด้านกรรักษาและการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือการ

 

ศึกษาหาความรู้เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่วิตกกังวจนเกินไป และอย่าลืมว่าคุณ

 

ไม่ได้อยู่โดดเดียว ทีมแพทย์ผุ้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในครอบครัวรวมถึงคนรอบข้างมีส่วนสำคัญ

 

อย่างมากในการให้ กำลังใจและสนับสนุนให้คุณมีความพร้อมในการรักษา ซึ่งจะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิต

 

อยู่กับมะเร็งตับได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข ขึ้น

มารู้จักกับ "ตับ" ให้มากขึ้น


          ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในช่องท่อง อยู่ใต้ชายโครงขวา มีหน้าที่สำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้


- สังเคราะห์องค์ประกอบที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดรวมทั้งโปรตีนอัลบูมินใน เลือดด้วย


- เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหารในรูปของไกลโคเจน (glycogen) และเปลี่ยนเป็นน้ำตาลสู่กระแสเลือดเพื่อให้

 

พลังงานเมื่อร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังสะสมธาตุเหล็กและวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินดี


- สร้างและหลั่งน้ำดีที่ช่วยในกระบวนการย่อยและดูดซึมอาหาร รวมถึงสร้างโคเลสเตอรอลในร่างกาย


- กำจัดสารพิษบางชนิดที่เข้าสู่ร่างกาย


          ตับเป็นอวัยวะที่มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองสูง และยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติแม้ว่า

 

บางส่วนของตับถูกทำลายหรือถูกตัดไปถึง 3 ใน 4 ส่วนก็ตาม


          สุรา ยาเสพติด สารพิษหรือการได้รับยาบางชนิดเกินขนาด เช่น พาราเซตามอล การติดเชื้อไวรัสตับ

 

อักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสอื่นๆ บางชนิด สามารถทำลายตับได้

         
โรคร้ายที่สามารถทำลายตับ

 ได้แก่


โรคไวรัสตับอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิด เรื้อรัง ในระยะเฉียบพลันจะมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำๆ 

 

คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงาขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม มักเกิดจากการติด

 

เชื้อไวรัสตับอักเสบเอหรือบี สำหรับไวรัสตับอักเสบซีไม่ค่อยแสดงอาการในระยะเฉียบพลัน โดยไวรัสตับ

 

อักเสบเอนั้นจะติดต่อโดยการรับประทานหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อ ส่วนไวรัสตับอักเสบบีและซีสามารถ

 

ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ หรือจากแม่สู่ลูก และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งหรือแม้แต่

 

มะเร็งตับได้


โรคตับจากแอลกอฮอล์ มักเกิดในผุ้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นเวลาหลายปี แอลกอฮอล์จะทำให้มีไขมันมา

 

เกาะที่ตับ ทำให้ตับโต บางครั้งจะัมีอาการกดเจ็บร่วมด้วย โดยทั่วไปมักไม่มีอาการให้สังเกต ยกเว้นกรณีที่

 

ตับอักเสบ จะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อึดอัดแน่นท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้อง น้ำหนักลด 

 

บางรายอาจมีไข้สูงหรือแขนขาบวมด้วย ซึ่งหากยังคงดื่มต่อไปจะทำใ้ห้ตับแข็งและเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ


โรคไขมันในตับ มักเกิดในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะ

 

ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันในตับอาจจะก่อให้เกิดการอักเสบซึ่งนานเข้าก็กลายเป็นพังผืดและตับแข็ง ตามมา


โรค มะเร็งตับปฐมภูมิ มักเกิดในผู้ที่มีโรคตับอยู่เดิม โดยเฉพาะผู้ที่มีตับแข็งจากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

 

จากแอลกอฮอล์หรือจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี

มะเร็ง ตับคืออะไร


          มะเร็งตับ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติที่ดีเอนเอ (DNA) หรือสารพันธุกรรมส่งผลให้เซลล์ในตับ

 

แบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนไม่ สามารถควบคุมได้ มะเร็งที่่เกิดขึ้นในตับแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

 

ใหญ่คือ


1. มะเร็ง ตับปฐมภูมิ (primary liver cancer) ที่พบมากมีอยู่ 2 ชนิด คือ


     - มะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma หรือ hepatoma) มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ของตับ มัก

 

เกิดกับผู้ที่มีโรคตับอยู่เดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคตับแข็ง พบได้บ่อยมากในประเทศไทย เนื่องจากมีผู้ติด

 

เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจำนวนมากและติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีพอสมควร โดยจะพบมะเร็งชนิดนี้มากกว่า

 

มะเร็งท่อน้ำดีในตับ และเพศชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าเพศหญิง


     - มะเร็งท่อน้ำดีในตับ (cholangiocarcinoma หรือ cholangioma) มีต้นกำเนิดจากเยื่อบุผนังของท่

 

น้ำดี สาเหตุมักเกี่ยวข้องกับการรับประทานปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับพยาธิใบไม้ตับ

 

 อันเป็นปัจจัยเสียงสำคัญของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี พบได้บ่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประชาการมี

 

พฤติกรรมในการรับประทานปลา น้ำจืดสุกๆ ดิบๆ


          ส่วนมะเร็งเส้นเลือดของตับ (angiosarcoma) ซึ่งมีกำเนิดจากหลอดเลือดภายในตับ จัดเป็นมะเร็ง

 

ตับปฐมภูมิอีกชนิดหนึ่ง แต่พบได้น้อย


2. มะเร็งตับทุติยภูมิ (secondary liver cancer) เป็นมะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากที่อื่น เช่นปอด เต้านม หรือ

 

ลำไส้ใหญ่ แล้วแพร่กระจายมายังตับ โดยจะเรียกชื่อตามอวัยวะที่เป็นต้นกำเนิดของมะเร็งนั้นๆ
 

ในบทความนี้จะกล่าวถึงมะเร็งตับแบบปฐมภูมิชนิดที่เป็นมะเร็งเซลล์ตับเป็นหลัก เพราะพบได้บ่อยกว่ามะเร็ง
 
ตับปฐมภูมิชนิดอื่นๆ ดังนั้นคำว่ามะเร็งตับในที่นี้จึงหมายถึง "มะเร็งเซลล์ตับ" นะครับ


มะเร็งตับเกิดจากอะไรป้องกันได้ไหม


          สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับ คือ การเป็นโรคตับแข็งจากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อไปนี้


- การอักเสบเรื้อรังของตับจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี


- ภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ ไวรัสตับอักเสบบีหรือซี


- การได้รับสารอะฟลาทอกซิน (aflatixin) อันเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดมะเร็งตับ ซึ่งมักปนเปื้อนอยู่ใน

 

ธัญพืชแห้งที่ขึ้นรา เช่น ถั่วลิสง พริกแห้ง กระเทียม เป็นต้น


          ถ้าไม่อยากเป็นโรคมะเร็งตับควรรู้จักป้องกันตัวเอง โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดตับอักเสบ

 

หรือตับแข็ง ดังนี้


- งดดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์


- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อราหรือสารอะฟลาทอกซิน ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ


- อย่าสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งใดๆ ของผู้อื่น หากจำเป็นให้สวมถุงมือ และห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกับ

ผู้อื่น


- ไม่สำส่อนทางเพศ สวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ


- ป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีโดยการฉีดวัคซีน


- หากป่วยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ต้องรับการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องด้วย

 

วิธีที่เหมาะสม ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับได้


- กรณีที่คุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ ควรเฝ้าระวังเป็นระยะๆ โดยการตรวจเลือดและตรวจอัลตรา

 

ซาวน์เพื่อหามะเร็งตับทุกๆ 6 เดือน

อาการแบบไหนเข้าข่ายมะเร็งตับ


          มะเร็งตับระยะแรกมักจะไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อก้อนมีขนาดโตขึ้นหรือมีการลุกลามไปยังอวัยวะข้าง

 

เคียงหรือกระจายไป ที่อื่นๆ จะทำให้เกิดอาการต่อไปนี้


          - มีก้อนในท้องด้านบนขวามือหรือบริเวณลิ้นปี่


          - เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อึดอัดแน่นท้อง ท้องโตขึ้น เนื่องจากมีน้ำในช่องท้อง (ท้องมาน)


          - ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวาซึ่งอาจร้าวไปที่ไหล่ขวา


          - ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หรือที่เรียกว่า "ดีซ่าน" ซึ่งทำให้มีอาการคันตามมือ 


             เท้า และผิวหนัง


          - อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย


          - น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว


          ทั้งนี้อาการเหล่านี้อาจจะเป็นจากสาเหตุอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบ

 

แพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุโดยเร็ว

ตรวจหามะเร็งตับทำอย่างไร


          การตรวจหามะเร็งตับอาจเริ่มตั้งแต่การตรวจร่างกายทั่วๆ ไป ดูลักษณะของตับอักเสบเรื้อรังหรือตับ

 

แข็ง ดีซ่าน ตับโต หรือน้ำในช่องท้อง จากนั้นจึงทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่


     - ตรวจเลือดดูค่าแอลฟาฟีโตโปรตีน (alpha fetoprotein;AFP) ซึ่งมักจะสูงกว่าปกติ (ค่าปกติ 10-20 

 

นาโนกรัม/มิลลิลิตร) ในผู้ที่เป็นมะเร็งตับ


     - ตรวจด้วยเครื่องมือที่แสดงผลออกมาเป็นรูปภาพของตับซึ่งมักตรวจโดยอัลตรา ซาวด์ก่อน ถ้าพบว่ามี

 

ก้อนจึงตรวจเพิ่มเติมโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือตรวจด้วยคลื่น สนามแม่เหล็กของช่องท้องเพื่อ

 

ยืนยันและประเมินระยะของโรคในกรณีที่เป็น มะเร็ง

 

     แต่ในกรณีที่ผลการตรวจ ข้างต้นไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แพทย์ก็จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมโดย


     - ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ โดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับก่อนแล้วเอกซเรย์ดู 

 

ความผิดปกติ เช่น มีหลอดเลือดผิดปกติที่ไปเลี้ยงเนื่องอก ภายในตับหรือการอุดตันของหลอดเลือดดำที่ไป

 

เลี้ยงตับ เป็นต้น


     - ตรวจชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้องอกในตับ โดยใช้เข็มแทงผ่า่นผิวหนังเข้าไปยังบริเวณเนื้องอกแล้วดูด

 

ตัวอย่างเนื้อขึ้น มาตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์ เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่


     - หากผลการตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับ แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูสภาวะการทำงานของตับ เพื่อเป็น

 

ข้อมูลช่วยเสริมในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วย โดยการตรวจเลือดเพื่อดูค่า

 

ต่างๆ เช่น
     - ค่าระดับน้ำดีในเลือด (bilirubin)


     - ค่าระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือด (albumin)


     - ระยะเวลาที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือด (prothrombin time)


     นอกจากนี้ยังรวมถึงการตรวจภาวะความผิดปกติทางสมองที่เกิดจากการคลั่งของสาร พิษในเลือดจาก

 

โรคตับเรื้อรังด้วย

หลากหลายทางเลือกสู้ กับมะเร็งตับ


          ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้การรักษามะเร็งตับในปัจจุบันมีทางเลือก

 

หลายวิธี แพทย์จะวางแผนการรักษาโดยร่วมปรึกษากับผู้ป่วยและญาติเพื่อเลือกวิธีที่ เหมาะสมที่สุด ซึ่งต้อง

 

พิจารณาจากระยะของโรค สภาพร่างกายของผู้ป่วยส่วนใหญ่แล้วจะใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อผลการรักษาที่ 

 

น่าพอใจที่สุด


     รังสีรักษา (radiation therapy) โดยการฉายรังสีมักได้ผลการรักษาไม่ดีนัก ส่วนการฝังแร่เพื่อทำลาย

 

เซลล์มะเร็งหรือให้สารแร่ทางเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง มะเร็งตับ มักได้ผลดีกับมะเร็งระยะต้นที่ก้อนมะเร็งยังมี

 

ขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร หรือใช้เพื่อช่วยให้การรักษามะเร็งขนาดใหญ่ได้ผลดีขี้น


     การผ่าตัด (surgery) มีวิธีการใหญ่ๆ 2 วิธี คือ


          - การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกจากตับ เหมาะกับรายที่ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร อยู่ใน

 

ตับเพียงส่วนเดียว และยังไม่มีการแพร่กระจาย การทำงานของตับต้องอยู่ในเกณฑ์ดี


          - การผ่าตัดปลูกถ่ายตับจากตับของผู้บริจาค ได้ผลดีในผู้ที่ตับแข็ง มะเร็งยังไม่ลุกลาม หลังปลูกถ่าย

 

ตับต้องได้รับยากดภูมิต้านทานเพื่อไม่ให้ร่างกายปฏิเสธตับใหม่ ที่ปลูกถ่ายเข้าไป


     เคมีบำบัด (chemotherapy) เป็นการฉีดยาเคมีเข้าหลอดเลือดดำและกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งยามีผล

 

ทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติ ทำให้เกิดผลข้างเคียงสูง รวมถึงมะเร็งตับส่วนใหญ่มักจะดื้อต่อยาเคมี

 

บำบัดและไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยมี ชีวิตที่ยืนยาวขึ้น จึงได้มีกาีีรพัฒนาวิธีการทำเคมีบำบัดที่ให้ผลการรักษาดี

 

ขึ้นและผลข้างเคียง น้อยลง เช่น


          - Chemoembolization เป็นการฉีดยาเคมีบำบัดผ่านสายสวนซึ่งใส่ไว้ในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง ก้อน

 

มะเร็งแล้วอุดหลอดเลือดนั้น ทำให้ก้อนมะเร็งขาดเลือดไปเลี้ยงและสัมผัสกับยานานขึ้น แบ่งเป็นวิธีที่เรียกว่า

 

TACE (transarterial chemoembolization) และ TOCE (transarterial oily-chemoembolization) 

 

โดยทั้งสองวิธีแตกต่างกันตรงสารที่ใช้ในการอุดหลอดเลือด กล่าวคือ TACE จะขึ้นเจลโฟม ส่วน TOCE จะ

 

ใช้สารที่เป็นน้ำมันผสมกับยาเคมีบำบัด


          - Hepatic arterial infusion เป็นการค่อยๆ ปล่อยยาเคมีบำบัดผ่านสายสวนซึ่งใส่ไว้ในหลอดเลือด

 

ที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งโดย ตรง จึงมีผลข้างเคียงน้อยกว่าเคมีบำบัดแบบเดิม


     การรักษาเฉพาะที่ มักได้ผลดีในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร เช่น


          - RFA: radiafrequency ablation เป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งสั่นด้วย

 

คลื่นวิทยุความถี่ สูงจนร้อนขึ้นและตายในที่สุด


          - PEI: percutaneous enthanol injection เป็นการฉีดแอลกอฮอล์เข้าไปที่ก้อนมะเร็ง ทำให้

 

เนื้อเยื่อมะเร็งที่สัมผัสกับแอลกอฮอล์ถูกทำลาย


          วิธีทั้งสองข้างต้นมีข้อสนับสนุนประสิทธิภาพในการรักษาอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ให้ก้อน

 

มะเร็งสัมผัสกับความเย็น (cryosurgery) หรือความร้อน (microwave) ทำให้เซลล์มะเร็งสลายตายไป


     การรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเป้า หมาย (targeted therapy) เป็นการรักษาแนวใหม่

 

โดยมุ่งเป้าไปยังยีนหรือโปรตีนที่ก้อนมะเร็งใช้ในการ เจริญเติบโตและแบ่งตัว จึงมีฤทธิ์ทำลายเฉพาะ

 

เซลล์มะเร็งเท่านั้น ทำให้มีผลข้างเคียงต่ำกว่าการใช้เคมีบำบัดแบบเดิม ซึ่งมีผลต่อเซลล์ปกติทั่วร่างกายด้วย
          ซึ่งยาที่ใช้จะทำงานโดยการยับยั้งเอนไซม์ที่ชื่อว่า ไคเนส (kinase) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเอนไซม์ที่

 

เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเจริญเติบโตของ เซลล์มะเร็ง จากการยับยั้งส่งผลให้


          1. ขัดขวางการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (inhibit tumor cell proliferation)


          2. ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ีที่ก้อนมะเร็งสร้างขึ้นเพื่อไปเลี้ยงตัวมัน เอง (anti-angiogenesis) 

 

ทำให้เซลล์มะเร็งขาดอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยง


          ข้อดีคือทำให้ผลการรักษาดีขึ้นและมีผลข้างเคียงน้อยลง ปัจจุบันอยู่ในรูปแบบยาใช้รับประทาน ข้อ

 

ควรระวังคืออาการข้างเคียงคือ อาการทางผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เช่น แดง ปวดบวมหรือพอง เป็นต้น หากมี

 

อาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อปรับลดขนาดยาหรือสั่งหยุดยา


      การรักษาื่อื่นๆ เช่น immunotherapy เป็นการรักษาที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง คือ การใช้ระบบภูมิ

 

ต้านทานของร่างกายตนเองต่อสู้กับมะเร็ง โดยให้ยากระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T cell มาฆ่าเซลล์

 

มะเร็ง

แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาวิธีใดให้เหมาะกับเรา


          ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ก่อนที่แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาใดให้กับผู้ป่วยจะต้องพิจารณาหลายปัจจัย 

 

เช่น สุขภาพร่างกายของผู้ป่วยและระยะของโรค กล่าวคือ หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้นและไม่มีภาวะ

 

ตับแข็ง แพทย์จะเลือกใช้วิธี "ผ่าตัดโดยการตัดเนื้อตับส่วนที่มีมะเร็งออก" โดยผู้ป่วยต้อง


                - มีก้อนมะเร็งขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตรซึ่งจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีถึงร้อยละ 90


                - มีก้อนมะเร็งขนาดโตกว่า 2 เซนติเมตรแต่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร หรือ


                - มีก้อนมะเร็งไม่เกิน 3 ก้อนแต่ละก้อนขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตรและอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ


                   ตัดออกได้ นั่นคือก้อนมะเร็งยังอยู่ในตับเพียงกลีบเดียว


          ในกรณีที่ผู้ป่วยมีตับแข็งร่วมด้วย แพทย์จะต้องอาศัยกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนและเข้มงวดในการเลือกวิธี

 

รักษายิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่สามารถผ่าตัดได้จะมีประมาณ ร้อยละ 5-10 เท่านั้น


          แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดเนื้อตับได้เนื่องจากตำแหน่งของมะเร็งไม่เหมาะ สมหรือมีคุณสมบัติไม่

 

เข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น แพทย์จะพิจารณาวิธีการ "เปลี่ยนตับ" เป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่งให้กับผู้ป่วย โดยมี

 

เงื่อนไขคือ
                - มีก้อนมะเร็งก้อนเดียวขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร หรือไม่เกิน 3 ก้อนแต่ละก้อนขนาดไม่เกิน 3 

 

เซนติเมตร ซึ่งอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี มีมากกว่าร้อยละ 70 และโอกาสเป็นกลับมาใหม่น้อยกว่าร้อยละ 15


                - ในบางกรณี หากผู้ป่วยมีระยะของโรคที่ไม่เข้าเกณฑ์ผ่าตัดเปลี่ยนตับ การรักษาโดยการฉีด

 

แอลกอฮอล์เฉพาะที่ การทำลายมะเร็งด้วยความร้อนโดยคลื่นวิทยุหรือการให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางเส้น

 

เลือดที่เลี้ยงมะเร็งร่วมกับการฉีดสารอุดเส้นเลือด อาจจะทำให้ระยะของมะเร็งตับลดลงจนเข้าเกณฑ์ที่จะ

 

ผ่าตัดเปลี่ยนตับได้ และผลการเปลี่ยนตับก็มีเกณฑ์ดีเท่ากันกับผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรับการ เปลี่ยนตับ

 

ตั้งแต่แรก
          สำหรับ "การรักษา้เฉพาะที่" จะใช้กรณีที่คุณเป็นมะเร็งตับในระยะแรกที่ไม่เหมาะสมต่อการรักษาด้วย

 

การผ่า ตัด ทำได้โดยใช้เครื่องมือเจาะผ่านหน้าท้องลงไป แล้วฉีดแอลกอฮอล์ 100% หรือใช้ความร้อนจาก

 

คลื่นวิทยุทำลายก้อนมะเร็ง วิธีดังกล่าวมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการผ่าตัดตับในบางรายงาน แต่ก็ยังเป็น

 

วิธีที่ได้ผลน้อยกว่าการผ่าตัดตับและการเปลี่ยนตับ อย่างไรก็ตามแม้ผู้ป่วยจะไม่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัด

 

หรือการทำลายก้อนมะเร็ง ผ่านทางผนังหน้าท้อง แต่หากแพทย์พบว่ามะเร็งยังไม่ได้ลุกลามไปที่หลอดเลือด

 

ดำของตับและยังไม่แพร่ กระจายไปที่อวัยวะอื่น แพทย์อาจให้ยาผ่านทางเส้นเลือดแดงที่เลี้ยงก้อนมะเร็ง

 

แล้วตามด้วยการฉีดสาร เพื่ออุดเส้นเลือดที่เลี้ยงก้อนมะเร็ง (TACE,TOCE) ซึ่งผลการรักษาดีกว่าการรักษา

 

แบบประคับประคอง เช่นการฉีดแอลกอฮอล์หรือการใช้ความร้อนจากคลื่นวิทยุดัวกล่าวข้างต้น และแพทย์

 

อาจใช้วิธีนี้ลดระยะของมะเร็งตับจากที่ผ่าตัดไม่ได้เป็นผ่าตัดได้

วิธีดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ


                การดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็ง ตับมีความพร้อมต่อ

 

การรักษา อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วย

 

เลือกรับ ประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น

 

  • ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจส่งผลให้แน่นท้องมากขึ้นได้
  • ผัก สามารถทานผักใบเขียวได้ทุกชนิด แต่หากมีอาการท้องอืดมาก ควรเลือกผักที่ไม่มีเส้นใยมากนัก 
  • เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน บรอกโคลี เป็นต้น
  • คาร์โบไฮเดรต รับประทานได้ตามปกติและควรเลือกชนิดที่ย่อยง่าย หากทานได้น้อยมาก อาจดื่มน้ำหวานเพิ่ม เพื่อป้องกันน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
  • ผลไม้ ควรเลือกทานผลไม้ที่มีเนื้อไม่แข็งหรือมีเส้นใยมากจนเกินไป เช่นกล้วย ส้ม ชมพู่ หากทานผลไม้สดลำบาก ใ้ห้ดื่มน้ำผลไม้คั้นสดแทนได้ ที่สำคัญคือควรทำรับประทานเองและรักษาความสะอาดมากๆ
  • โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม ควรรับประทานให้เพียงพอ สำหรับผู้ป่วยที่ีมีอาการทางระบบประสาทที่มีผลแทรกซ้อนมาจากตับ (hepatic encephalopathy) เช่นซึม การควบคุมตนเองผิดปกติ ควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่จำกัดภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของนักกำหนดอาหารรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนและสารพิษ
  • แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง คือ จากเดิมทานอาหาร 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น ก็เพิ่ม เป็น 6 มื้อ เช้า สาย กลางวัน บ่าย เย็น ก่อนนอน
  • ดูแลผิวหนังโดยไม่อาบ น้ำที่อุ่นจัด เย็นจัด หรืออาบน้ำนานเกินไป ใช้โลชั่นทาตัวหลังอาบน้ำ
    เพื่อไม่ให้ผิวแห้ง หากมีอาการคันมากควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อสั่งจ่ายยาทากหรือยาทานแก้คัน
  • พยายามทำตัวให้กระตืนรือร้นและสดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอผ่อนคลายความเครียดด้วยการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ ทำสมาธิหรืองานอดิเรกอื่นๆ รวมถึงการท่องเที่ยวไนสถานที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลังการรักษาผู้ ป่วยควรเข้ามาตรวจร่างกายเพื่อติดตามอาการตามที่แพทย์นัด เพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงเพื่อร่วมกำหนดแนวทางในการลดหรือป้องกันอาการข้างเคียงจากการรักษาที่อาจเกิดขี้น
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้อาเจียนมาก ท้องเสียรุนแรง มีจุดเลือดออกตามผิวหนังหรือมีเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตาม ที่สภาพร่างกายเอื้ออำนวย ควรทำการบริหารข้อต่อและกล้ามเนื้อบ่อยๆ เพื่อลดอาการข้างเคียงจากปัญหาข้อยึดติด ซึ่งการออกกำลังกายของผู้ป่วยมีข้อแนะนำคือ

สิ่งควรทำ
          1. ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มแผนการออกกำลังกาย เพื่อทราบว่าร่างกายของผู้ป่วยพร้อมต่อการออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน
          2. ให้ครอบครัวหรือเพื่อนๆ มีส่วนร่วมกับการออกกำลังกายของผู้ป่วย นอกจากจะมีคนคอยดูแลเรื่องความปลอดภัยแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีเพื่อนและสนุกขึ้นด้วย
          3. เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างช้าๆ แล้วจึงเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายให้นานขึ้นในวันต่อไป
          4. แบ่งให้มีช่วงพักจากการออกกำลังกายบ่อยขึ้น เช่น หากผู้ป่วยต้องการเดินเร็วเป็นเวลา 30 นาที อาจแบ่งให้ีมีช่วงพักทุก 10 นาที เป็นต้น
สิ่งที่ไม่ควรทำ
          1. ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนมากจะมีตับแข็งซึ่งอาจมีเส้นเลือดขอดที่บริเวณตับร่วย ด้วย ดังนั้นการออกกำลังกายแบบใดก็ตามที่ต้องมีการเกร็งหน้าท้อง เช่นการ sit-up ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้เส้นเลือดที่ขอดอยู่นั้นแตกได้
          2. หากผู้ป่วยมีโลหิตจางก็ยังไม่ควรออกกำลังกาย ปกติในระหว่างการรักษาจะมีการเจาะเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดของผู้ป่วย อยู่เสมอ ควรถามทีมแพทย์ผู้ดูแลว่า ผู้ป่วยพร้อมที่จะออกกำลังกายหรือยัง
          3. หลีกเลี่ยงการใช้สระว่ายน้ำซึ่งมักจะมีคลอรีน ที่ทำให้ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีเกิดการระคายเคือง
          4. หลังรับเคมีบำบัด 7-12 วันไม่ควรว่ายน้ำในสระน้ำสาธารณะ
          5. การใช้ยาเคมีบำบัดอาจทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสามารถรับมือกับการติดเชื้อได้ น้อยลง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่สาธารณะ ซึ่งเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค
          6. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายบนพื้นที่ขรุขระหรือลาดชัน เพราะทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มบาดเจ็บได้


          ถึงแม้ผู้ป่วยจะออกกำลังกายได้เพียงวันละไม่กี่นาที แต่ร่างกายผู้ป่วยก็ยังได้รับประโยชน์ ซึ่งการออก

 

กำลังกายควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรคิดว่าวันนี้้ต้องทำได้เท่านั้นเท่านี้ หากวันไหนรู้สึกอ่อนเพลีย 

 

ไม่อยากออกกำลังกาย ก็อาจยืดเส้นยืดสาย เหยืยดกล้ามเนื้อในท่าต่างๆ เช่น นอนหงายราบกับพื้นโดยให้

 

ไหล่และแขนวางราบกับพื้น ไขว้ขาขวาไปให้ไกลที่สุดเท่่าที่จะทำได้ และให้เข่าซ้ายเหยียดตรง ทำด้านซ้าย

 

เหมือนกัน คงท่ายืดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 15-30 วินาที่ ทำซ้ำท่าละ 5 ครั้ง หรืออาจหันศีรษะไปทางขวาและ

 

ซ้ายสลับกันโดยการหันแต่ละครั้งให้ค้างในท่าเดิม ประมาณ 15-30 วินาที แล้วเปลี่ยนมาเป็นท่าเอียงศีรษะ




หัวใจ สำคัญในการดูแลรักษาโรคมะเร็งก็คือการเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้ สมบูรณ์แข็งแรงเสมอ ด้วยการไม่เครียด ทานอาหารให้ครบหมู่เน้นการเสริมด้วยวิตามินที่จำเป็นในการต้านอนุมูลอิสระ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และส่งเสริมสมดุลภูมิต้านทานด้วยทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ก็สามารถทำให้ท่านผ่านพ้นวิกฤตินี้ได้อย่างง่ายดาย 

เคล็ด ไม่ลับในการรักษามะเร็งคือ ป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งใหม่เกิดขึ้นมาและทำลายเซลล์มะเร็งเดิมที่มีอยู่ แล้วให้หมดสิ้นไป

 

 

 

คลิ๊ก

 

ผู้ที่มี ปัญหาเกี่ยวกับ มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ได้ที่
Tel.086-4624228

 

 

 
 

คลิ๊ก Add Friends  เพื่อเพิมเพื่อนไลน์